วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559



  การบันทึกครั้งที่17

วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

 

         กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอวิธีการสอนของกลุ่มตนเองได้แก่ กลุ่ม หน่วยอากาศ , หน่วยยานพาหนะ , หน่วยดอกไม้ ที่ยังสอนไม่เสร็จเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

วันอังคาร หน่วยอากาศ (คุณสมบัติของอากาศ)

ขั้นนำ คือ ร้องเพลง ลมพัด
ขั้นสอน คือ ทดลองใช้มือโดยการพัดเพื่อให้เกิดลม

วันพุธ หน่วยยานพาหนะ (ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่

ขั้นนำ คือ ตั้งประเด็นปัญหา
ขั้นสอน คือ ให้เด็กๆแยก พาหนะ ว่าใช้อะไรในการเคลื่อนที่


วันศุกร์  หน่วย ดอกไม้  ( การแปรรูปดอกไม้ )

ขั้นนำ คือ เล่านิทาน
ขั้นสอน คือ ให้เด็กๆบีบดอกไม้ที่ครูเตรียมมาว่าเป็นสีอะไรเพื่อจะนำมาเป็นสีผสมอาหาร

คำศัพท์ 
Teaching plan = แผนการสอน
objective = วัตถุประสงค์
integration = บูรณาการ
Learning activities = กิจกรรมการเรียนรู้
significant experience = ประสบการณ์สำคัญ

ทักษะที่ได้รับ
  • การฟัง
  • การทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • การคิด

การนำมาประยุกต์ใช้: เด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
บรรยากาศในห้องเรียน: โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน: มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 

ประเมินตนเอง: ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน: มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์: แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน

การบันทึกครั้งที่16

                                                  วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 



  • กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์พูดถึงการเรียนการสอนแบบการบรูณาการ STEM คือการทำคลิปวิดีโอ ขวดน้ำนักขนของ ที่ลงYoutube และอาจารย์ให้โจทย์มาว่าของเล่นที่แต่ละกลุ่มประดิษฐ์ขึ้นมานั้นสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยการเรียนรู้อะไรบ้างและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร เช่น ทำขวดน้ำนักขนของเพื่อส่งอาหารไปให้สัตว์ที่อยู่ในป่าลึก

ขวดน้ำนักขนของ

วิธีการสอน มีดังนี้
  1. สังเกตอุปกรณ์ อุปกรณ์เหล่านี้มีอะไรบ้าง
  2.ตั้งประเด็นปัญหา (ถ้าเราเข้าไปในป่าทึบไม่ได้เราจะส่งอาหารให้สัตว์ด้วยวิธีการไหนได้บ้าง)
  3.เข้าสู่เนื้อหาที่เตรียมมาโดยการเปิด Youtube ขวดน้ำนักขนของ ให้เด็กดู
     - ดูอุปกรณ์ (ทบทวนอุปกรณ์)
     - ดูขั้นตอนในการทำ (ทบทวนขั้นตอน)
     - สาธิตการทำ
     - ให้เด็กออกมาหยิบอุปกรณ์ (โดยให้หัวหน้ากลุ่มออกมาหยิบ)
     - ลงมือทำ
  4. ครูตั้งสมมติฐานการเล่นจากสิ่งที่ประดิษฐ์
     - เด็ก ๆ คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
     - ทดลองเล่นของตนเอง ถ้าใครไปไกลแสดงว่ามีประสิทธิภาพ
  5. สรุปหลักการทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งที่ประดิษฐ์
                
     คำศัพท์
  • Test = การทดลอง
  • Technology = เทคโนโลยี                      
  • integration = บูรณาการ
  • Learning activities = กิจกรรมการเรียนรู้
  • significant experience = ประสบการณ์สำคัญ 

    ทักษะที่ได้รับ
    • การฟัง
    • การทำงานร่วมกับผู้อื่น
    • การคิด
    การนำมาประยุกต์ใช้เด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
    บรรยากาศในห้องเรียน: โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
    การจัดการเรียนการสอนมีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 

    ประเมินตนเอง: ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
    ประเมินเพื่อน: มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
    ประเมินอาจารย์: แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน

    การบันทึกครั้งที่15

                                     วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 



     
    อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอการสอนตามแบบของกลุ่มตนเอง
    วันจันทร์ หน่วยผลไม้ (ชนิดของผลไม้)

    ขั้นนำ คือ คำคล้องจองผลไม้ ซึ่งแสดงให้เด็กเห็นว่าผลไม้นั้นมีมากมากหลากหลายชนิด
    ขั้นสอน คือ นำผลไม้ของจริงมาให้เด็กสังเกตว่าผลไม้แต่ละชนิดมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งสามารถบรูณาการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้  โดยการสังเกตและจำแนกหมวดหมู่ของผลไม้ว่าเป็นผลรวมหรือผลเดี่ยว (เกณฑ์ที่ใช้คือผลรวม ที่เหลือคือไม่ใช่ผลรวม)


     
    วันอังคาร หน่วยไข่ (ลักษณะของไข่)

    ขั้นนำ คือ เกมต่อจิ๊กซอว์เป็นรูปไข่
    ขั้นสอน คือ ให้เด็กๆสังเกตลักษณะของไข่แต่ละชนิดและนำมาเปรียบเทียบกันว่าเหมือนหรือแตกต่างกัน

    และให้เด็กรู้จักส่วนประกอบของไข่และนำมาเขียนลงตารางวิเคราะห์




    วันพุธ หน่วยต้นไม้ (ปัจจัยการเจริญเติบโตของต้นไม้)



    ขั้นนำ คือ คำคล้องจองต้นไม้
    ขั้นสอน คือ การปลูกต้นถั่วงอก ให้เด็กลงมือทำด้วยตนเองและสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น




    วันพฤหัสบดี หน่วยปลา (คุ้กกิ้งปลาทอดกรอบ)

             กลุ่มนี้จะแตกต่างจากกลุ่มอื่นเพราะเป็นกิจกรรมคุ้กกิ้งเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติในการเข้าฐานแต่ละฐาน โดยในแต่ละฐานจะมีกิจกรรมให้เด็กทำไม่ซ้ำกัน โดยให้เด็กวนทำจนครบ เพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับทุกขั้นตอน
       ฐานที่ 1 เป็นการตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมตามแบบ
       ฐานที่ 2 เป็นการหั่นเนื้อปลาเป็น 2 ส่วน
       ฐานที่ 3 เป็นการนำเนื้อปลาที่หั่นแล้วไปชุบแป้ง
       ฐานที่ 4 เป็นการทอดปลา (ฐานนี้เด็กจะได้บรูณาการวิทยาศาสตร์โดยการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเนื้อปลา)
















    คำศัพท์ 
    Teaching plan = แผนการสอน
    objective = วัตถุประสงค์
    integration = บูรณาการ
    Learning activities = กิจกรรมการเรียนรู้
    significant experience = ประสบการณ์สำคัญ
    ทักษะที่ได้รับ
    • การฟัง
    • การทำงานร่วมกับผู้อื่น
    • การคิด
    การนำมาประยุกต์ใช้เด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
    บรรยากาศในห้องเรียน: โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
    การจัดการเรียนการสอนมีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 

    ประเมินตนเอง: ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
    ประเมินเพื่อน: มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
    ประเมินอาจารย์: แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน


      การบันทึกครั้งที่14


    ขวดน้ำนักขนของ ( แก้ไขใหม่ )

    วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 




        กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอคลิปวิดีโอที่แก้ไขเรียบร้อยแล้ว มานำเสนอหน้าชั้นเรียน
    • ขวดน้ำนักขนของ
    • คานดีดจากไม้ไอติม
    กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้นั่งตามกลุ่มหน่วยการสอนของตนเอง ได้แก่
    • หน่วยต้นไม้
    • หน่วยปลา
    • หน่วยอากาศ
    • หน่วยผลไม้
    • หน่วยไข่
    • หน่วยดอกไม้
    • หน่วยยานพาหนะ
           เพื่อที่จะนำเสนอแผนการสอนของแต่ละวัน ได้แก่ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัส และวันศุกร์
    โดยอาจารย์จะช่วยปรับแก้แผนของแต่ละวัน ให้สมบรูณ์มากยิ่งขึ้น

    กลุ่มดิฉัน หน่วยผลไม้
    ดิฉันได้วันพุธ เรื่องการถนอมอาหาร



    แผนการจัดประสบการณ์ ประโยชน์ของผลไม้
    สาระสำคัญ
           ประโยชน์ของผลไม้เช่น ป้องกันท้องผูก เป็นอาหารสัตว์ และใช้ทำยา
    จุดประสงค์การเรียนรู้  
    1. เพื่อฝึกทักษะการฟังนิทาน การแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลได้
    2. เพื่อฝึกทักษะกระบวนการคิด มีสมาธิในการทำงาน
    3. เด็กบอกประโยชน์ของผลไม้ได้
    ประสบการณ์สำคัญ
    1.การเรียนรู้ทางสังคม
       - การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
    2.การใช้ภาษา
       - การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
    กิจกรรมการเรียนรู้
      ขั้นนำ
        ครูเล่านิทานเรื่อง “ลูกลิงยอดกตัญญู”
      ขั้นสอน
        ครูแนะนำหนังสือภาพเสริมประสบการณ์ เรื่อง “ ลูกลิงยอดกตัญญู” เล่าให้เด็กฟังทีละหน้าจากนั้นให้เด็กอ่านตามทีละวรรค
    ครูและเด็กสนทนาเกี่ยวกับเนื้อเรื่องราวในหนังสือ โดยครูตั้งคำถามให้เด็กคิดและตอบ เช่น
      - ลูกลิงอยู่ที่ไหน อยู่กับใคร
      - เกิดอะไรขึ้นกับแม่ลิง
      - ลูกลิงช่วยแม่ลิงอย่างไร
      - ถ้านักเรียนเป็นลูกลิงจะทำเช่นนั้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
      ขั้นสรุป
        เด็กและครูร่วมกันสรุปคติสอนใจของนิทาน “ลูกลิงยอดกตัญญู”

    สื่อการเรียนรู้-แหล่งเรียนรู้
       - นิทานเรื่อง“ลูกลิงยอดกตัญญู”
    การวัดและประเมินผล
    วิธีการวัด
        - สังเกตจากการตอบคำถาม สนทนาซักถาม และแสดงความคิดเห็น
        - สังเกตการแสดงออกและคิดอย่างมีเหตุผล
    เครื่องมือวัด
        - แบบสังเกตพฤติกรรม
    เกณฑ์การประเมินผล 
        - เด็กสามารถบอกประโยชน์ของผลไม้

    คำศัพท์ 
    1. Teaching plan = แผนการสอน
    2. objective = วัตถุประสงค์
    3. integration = บูรณาการ
    4. Learning activities = กิจกรรมการเรียนรู้
    5. significant experience = ประสบการณ์สำคัญ
    ทักษะที่ได้รับ
    • การฟัง
    • การทำงานร่วมกับผู้อื่น
    • การคิด
    การนำมาประยุกต์ใช้
        เด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
    บรรยากาศในห้องเรียน
        โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
    การจัดการเรียนการสอน
        มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์

    ประเมินตนเอง: ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                  
    ประเมินเพื่อน: มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม          
    ประเมินอาจารย์: แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน


      การบันทึกครั้งที่12
    วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

       กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอวิดีโอการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ที่อัพโหลดลง Youtube นำเสนอหน้าชั้นเรียน
    หลอดมหัศจรรย์

    รถพลังงานลม

    ขวดน้ำนักขนของ

     เมื่อนำเสนอครบทุกกลุ่มแล้ว อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการทำคลิปวิดีโอ เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขใหม่

    *** อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการทำแผ่นชาร์ตต้องคำนึงถึง

    1. ด้านร่างกาย
    1. การเคลื่อนไหว <ความสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อกับอวัยวะ>
    2. สุขภาพอนามัย
    3. การเจริญเติบโต
    2. ด้านอารมณ์และจิตใจ
    1. การแสดงออกทางความรู้สึก
    2. การรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น
    3. ด้านสังคม
    1. การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
    2. การช่วยเหลือตนเอง
    4. ด้านสติปัญญา
    1. การคิด
    2. ภาษา
            กิจกรรมต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ช่วยกันระดมความคิดการจัดทำแผนการสอนของหน่วยตนเอง นำหน่วยการสอนมาบรูณาการทั้ง 6 สาระ ได้แก่

       1คณิตศาสตร์
    สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
      มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
      มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ  และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
      มาตรฐาน ค 1.3 ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
      มาตรฐาน ค 1.4 เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
    สาระที่2 การวัด
      มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
      มาตรฐาน ค 2.2 แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
    สาระที่3 เรขาคณิต
      มาตรฐาน ค 3.1 อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
      มาตรฐาน ค 3.2 ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatialreasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model)ในการแก้ปัญหา
    สาระที่4 พีชคณิต
      มาตรฐาน ค 4.1 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)  ความสัมพันธ์  และฟังก์ชัน
      มาตรฐาน ค 4.2 ใช้นิพจน์  สมการ  อสมการ  กราฟ  และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ 
    (mathematical  model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนแปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา
    สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
      มาตรฐาน ค 5.1 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
      มาตรฐาน ค 5.2 ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล
      มาตรฐาน ค 5.3 ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
    สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
      มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 

       2.วิทยาศาสตร์
     
    ทักษะ
    1. การสังเกต
    2. การจำแนก
    3. การวัด
    4. การคำนวณ
    5. ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา
    6. การจัดกระทำ
    7. การสื่อความหมายข้อมูล การพยากรณ์
    สาระที่1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
       มาตรฐาน ว 1. 1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบ ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่ง มีชีวิต
       มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

    สาระที่2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
       มาตรฐาน ว 2. 1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์
       มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้อง ถิ่นอย่างยั่งยืน

    สาระที่3 สารและสมบัติของสาร
       มาตรฐาน ว 3. 1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
       มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

    สาระที่4 แรงและการเคลื่อนที่
    มาตรฐาน ว 4. 1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
    มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

    สาระที่ 5 พลังงาน
       มาตรฐาน ว 5. 1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

    สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
       มาตรฐาน ว 6. 1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

    สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
       มาตรฐาน ว 7. 1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
       มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากร ธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและ สิ่งแวดล้อม

    สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
      มาตรฐาน ว 8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

    ภาษา
    • ฟัง
    • พูด
    • อ่าน
    • เขียน
    ศิลปะ
    • วาดภาพ ระบายสี                                       
    • ฉีก ตัด ปะ
    • ปั้น
    • ประดิษฐ์
    • เล่นกับสี
    • พิมพ์
    สังคม
    • การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
    • การมีมารยาท
    • การช่วยเหลือตนเอง
    สุขศึกษา/พลศึกษา
    • การเคลื่อนไหว
    • สุขภาพอนามัย
    • การเจริญเติบโต
         หลังจากนั้น อาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันระดมความคิด เขียนแผนผังออกแบบกิจกรรม โดยกิจกรรมนั้นต้องมีความเหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
           
    6 กิจกรรมหลัก
    • กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
    • กิจกรรมเสริมประสบการณ์
    • กิจกรรมสร้างสรรค์
    • กิจกรรมเสรี
    • กิจกรรมกลางแจ้ง
    • กิจกรรมเกมการศึกษา
    คำศัพท์ 
    1. Reason = เหตุผล
    2. Interaction = ปฏิสัมพันธ์
    3. Expression = การแสดงออก
    4. Growth = การเจริญเติบโต
    5. Recognition = การรับรู้
    ทักษะที่ได้รับ
    1. การทำงานเป็นกลุ่ม
    2. การคิด
    3. การนำเสนอ
    4. การตัดสินใจ
    5. การลงมือปฏิบัติ
    การนำมาประยุกต์ใช้
      สามารถนำวิธีการสอนนี่มาใช้ในอนาคตได้
    บรรยากาศในห้องเรียน
      โต๊ะ เก้าอี้ เพียงพอต่อนักศึกษา ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย แอร์เย็น
    การจัดการเรียนการสอน
      มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้มีวิธีการคิดในสิ่งที่เคยเรียนผ่านมา และสามารถแก้ปัญหาได้เฉพาะหน้าด้วย

    ประเมินตนเอง: ตั้งใจเรียนฟังอาจารย์อธิบายและร่วมทำกิจกรรมอย่างดี
    ประเมินเพื่อน: มีความตั้งเรียน และฟังในสิ่งที่อาจารย์อธิบายและสอนเป็นอย่างดี
    ประเมินอาจารย์: แต่งกายเรียบร้อย น้ำเสียงในการพูดเสียงดังฟังชัด
    บันทึกครั้งที่ 11
    วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2559 
    1. การเรียนในวันนี้ เริ่มต้นด้วยการทบทวนบทเรียนในสัปดาห์ที่ผ่านมา
    2. การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
    3. บรูณาการ คือ การเชื่อมโยงผ่านความสำคัญของหลายๆวิชาเข้าด้วยกันโดยผ่านหน่วยที่เราเลือก
    4. จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็กสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้

    * การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการลงมือกระทำและการมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ

          อาจารย์ให้นักศึกษาส่งของเล่นงานกลุ่มที่เหลือพร้อมให้คำแนะนำเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขและพร้อมบอกถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์




          กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อคิดหน่วยการสอนที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยเพื่อทำ Mind Map ในหน่วยที่เราเลือก





    สุดท้ายอาจารย์ให้คำแนะนำของการทำ Mind Map ของแต่ละกลุ่มเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข




    ผลงานของแต่ละกลุ่ม

    กลุ่มที่ 1 หน่วยยานพาหนะ


    กลุ่มที่ 2 หน่วยต้นไม้


    กลุ่มที่ 3 หน่วยผลไม้


    กลุ่มที่ 4 หน่วยปลา


    กลุ่มที่5 หน่วยดอกไม้
    กลุ่มที่6 หน่วยไข่


    กลุ่มที่ 7 หน่วยอากาศรอบตัวฉัน
         คำศัพท์ 
    • The unit = หน่วยการเรียนรู้         
    • property  = คุณสมบัติ
    • oxygen  = ออกซิเจน   
    • integration = บูรณาการ  
    • spiritual Science = จิตวิทยาศาสตร์  
       ทักษะที่ได้รับ
    • การทำงานเป็นกลุ่ม
    • การคิด
    • การนำเสนอ
    • การตัดสินใจ
    • การลงมือปฏิบัติ
    การนำมาประยุกต์ใช้
        สามารถนำวิธีการสอนนี่มาใช้ในอนาคตได้
    บรรยากาศในห้องเรียน
       โต๊ะ เก้าอี้ เพียงพอต่อนักศึกษา ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย แอร์เย็น
    การจัดการเรียนการสอน
       มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้มีวิธีการคิดในสิ่งที่เคยเรียนผ่านมา และสามารถแก้ปัญหาได้เฉพาะหน้าด้วย
    ประเมินตนเอง: ตั้งใจเรียนฟังอาจารย์อธิบายและร่วมทำกิจกรรมอย่างดี
    ประเมินเพื่อน: มีความตั้งเรียน และฟังในสิ่งที่อาจารย์อธิบายและสอนเป็นอย่างดี
    ประเมินอาจารย์:  แต่งกายเรียบร้อย น้ำเสียงในการพูดเสียงดังฟังชัด